วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Bonnie and Clyde (1967) บอนนี่แอนด์ไคล์ด


Bonnie And Clyde

Directed by Arthur Penn

Writers by David Newman,
Robert Benton

Runtime :111 Min

มีหนัง Biography มากมายที่พอลองจินตนการหรือคิดทบทวนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ผสมผสานกับข้อมูลที่เราได้รับ สิ่งหนึ่งที่ทุกคนน่าจะต้องตั้งคำถามบางแหละ ว่าทุกสิ่งที่อยู่ในหนังเกิดขึ้นจริงหรือเปล่า จริงอยู่ว่าบางทีมันอาจมีการแต่งเติมเนื้อหาบางอย่างเข้าไปเพื่อให้หนังสมบรูณ์แบบ แต่ เฮ! ตอนนี้ผมกำลังพูดถึงหนังเรื่อง Bonnie And Clyde ที่ออกฉายในปี 1967 ของ Arthur Penn อยู่ เพราะถ้าเอาตามเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ก็คิดว่าหนังยังไม่ถูกต้อง 100% หรือถ้าให้พูดอย่างเลวร้ายกว่านั้นคือหนังเรื่องนี้ไม่สมควรถูกสร้างด้วยซ่ำ นี่ผมกำลังพูดถึงอะไรอยู่นะเหรอ ? ความจริงทางที่เกิดขึ้น ? หรือความเป็นหนัง ?


เรื่องราวเกี่ยวกับไคล์ด บาร์โรลด์ (warren beatty) และ บอนนี่ ปาร์คเกอร์ (Faye Dunaway) สองอาชญากรรมที่ปล้นแบงค์ตามเท็กซัสในยุคที่พิษเศรษฐกิจกำลังตกต่ำพร้อมครอบครัว



ถ้าจะพูดถึงความเป็นจริงและความเป็นหนังที่เกิดขึ้นในหนังเรื่องนี้ก็พบว่ามีส่วนที่ทำได้ดีมากๆเลยคือการที่หนังพาไคล์ด บาร์โรล์ดและบอนนี่ ปาร์คเกอร์ เป็นคนธรรมดาทั่วไปที่ต้องหลบหลีกการตามล่าของตำรวจและการใช้พวกเขาเป็นภาพลักษณ์ของการทำลายหรือต่อต้านการเอารัดเอาเปรียบคนจนของธนาคารโดยใช้การปล้นของพวกเขาเป็นเสมือนตัวแทนของกบฏหรือโรบินฮู้ดในยุคนั่นซึ่งส่วนนี้ตัวหนังทำได้ดีตรงที่หนังไม่ได้พยายามจะสร้างภาพลักษณ์ของพวกเขาให้ดูเหินห่างจากคนดูเสียส่วนใหญ่ตรงข้ามหนังฉลาดมากในการสร้างภาพลักษณ์ของพวกเขาให้ดูเป็นปัญญาชนและแท้จริงแล้วเป้าหมายของพวกเขาคือการพยายามพาพวกเราไปพิสูจน์ว่าสิ่งที่พวกเขาทำก็ไม่ได้ไร้ค่าเสียทีเดียว เพราะอย่างน้อยๆการกระทำของพวกเขาก็ส่งผลพ่วงไปถึงภาพลักษณ์การใช้ความรุนแรงของตำรวจและภาพลักษณ์ของสื่อที่ต้องการเพียงอย่างเดียวคือเอาเลือดเอาเนื้อชีวิตของพวกเขา



ฟาย์ ดันเนเวย์ ได้มอบการแสดงที่ดีที่สุดในชีวิตของเธอในบทบอนนี่ ปาร์คเกอร์ เธอมอบความไร้เดียงสาผสมกับความแรดได้อย่างมีสีสันต์ ส่วนวอร์เรน บัตตี้ ถือว่าสอบผ่านกับบทไคล์ด บาร์โรล์ด นี่ยังไม่ได้ร่วมถึงทีมหนังแสดงอย่างเช่น จีน แฮ็คแมน,เอ็สเทลล่า เพอร์ซันและไมเคิล เจ.พอลเลต ต่างก็สร้างสีสันต์ให้กับหนังเรื่องนี้ (ถือแม้บางคนจะดูแข็งๆไปหน่อยก็ตาม)


โดยรวม “BONNIE AND CLYDE” เป็นหนังที่ดูสนุก ไม่หยาบกระด่าง ไม่อ่อนแอ่หรือรุนแรงจนเกินไป มีอารมณ์ขันและเป็นหนังที่ใช้เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มามัดรวมเข้ากับหนังได้อย่างฉลาด สนุกสนานและน่าประทับใจ
โดยทั้งหมดทั้งมวลก็แล้วแต่จะตีความกันไป แต่คิดว่าสำหรับผมมีความจริงอยู่ในหนังประมาณ
88% 




TAXI DRIVER (1976) ชีวิตโรแมนติกในเมืองแสนอัปลักษณ์

Taxi Driver

Directed by Martin Scorsese

Screenplay by Paul Schrader



"Taxi Driver" คือหนังโรแมนติกเกี่ยวกับชายผู้มาจากสงครามเวียดนามที่ผันตัวมาขับแท็กซี่เพราะนอนไม่หลับ ตลอดระยะทางที่เขาไปส่งผู้โดยสาร เขามองสภาพบริบทแถบชานเมืองไม่ต่างไปอะไรจาก "ถังขยะ" หรือ "ส้วม" เขารู้สึกแปลก โดดเดี่ยว อ้างว้าง ต้องการคนเข้าใจ เขาพาผู้หญิงหน้าตาสวยไปดูหนังด้วยการพาไปดูหนังโป๊ เขาโดนทิ้ง จนทำให้เขาประสาทเสียจนถึงขั้นคิดอะไรพิเรนอย่างเช่นลอบสังหารผู้เข้าชิงประธานธิบดีเพราะไม่ชอบนโยบายของเขา

มาร์ติน สกอเซซีย์ พาไปสำรวจสภาพบริบทสังคมในยุค 70s ที่เต็มไปด้วยการรักร่วมเพศ,ขี้ยา,โสเภณี,การคอรัปชั่นและสงคราม ผ่านตัวละครที่ยังกับหลุดมาจากยุคคาวบอยนามว่าทราวิส แบคกิ้นและโรเบิร์ติ เดอ นีโร่ ถ่ายทอดตัวละครของแบ็คกิ้นได้อย่างนุ่มนวลและเป็นธรรมชาติเสียมากๆ

"ทำไมทราวิส แบ็คกิ้น ถึงเป็นเช่นนี้" อย่างแรกเลยคือประสาท จิตระแวงเพราะผลกระทบจากสงคราม เขาเห็นความตายมามากมายและพอกลับมาอาศัยในดินแดนที่เขาเชื่อมั่นอย่างสนิทใจว่ากำลังปกป้องอยู่มีสภาพที่เสื่อมโทรมราวกับส้วมตามสาธารณะ ทำให้ความคิดความอ่านของเขาดูผิดแปลกหรือล้าหลังเกินไปสำหรับยุคที่เขาอาศัยอยู่เพราะระบบความเชื่อมั่นภายในจิตใจของเขากำลังอยู่ในช่วงสับสนหรือไม่แน่ใจว่าสถานทีที่ตัวเองอาศัยอยู่เหมาะสมสำหรับเขาแล้วหรือ

และสาเหตุที่หนังเป็นเช่นนี้เพราะบทภาพยนตร์ของพอล ชไรเดอร์ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Seachers ของจอห์น เวย์น ที่พูดถึงการช่วยชีวิตหลานสาวของตัวเองที่ถูกลักพาตัวไปโดยอินเดียแดงกลุ่มหนึ่ง เพราะฉะนั้นการที่หนังมีกลิ่นอายคล้ายๆหนังคาวบอยก็ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือบังเอิญแต่อย่างใด

ผมคิดว่านี่เป็นหนังที่ทุกคนควรดู ไม่ใช่จะว่าทุกสิ่งเป็นเรื่องสมมุติที่ทำออกมาแล้วดูเท่ห์ แต่ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังคือทัศนคติต่างหากที่บรรจุให้อยู่ในรูปแบบของยุคสมัยที่เปลื่ยนไป





วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

BATMAN V SUPERMAN DAWN OF JUSTICE (2016) พระเจ้าของจริง ?

Batman v Superman : Dawn of Justice


*เวอร์ชั่น Ultimate Editor*

(83/100)

Directed By Zack Snyder

Screenplay by Chris Terrio And David S.Goyer

Runtime : 183 Min

ดูจบแล้วก็คิดว่าเวอร์ชั่น Ultimate Editor เป็นเวอร์ชั่นที่ผู้กำกับต้องการจะเอาฉายเข้าฉายในโรง แต่ดันถูกทางต้นสังกัตหรือนายทุนเข้ามาแทรกแซงเพราะต้องการจะให้ตัวหนังเข้าถึงเด็กเล็กและผู้ใหญ่ได้ทั่วถึง (ทั้งที่เนื้อหาของหนังดันตรงข้าม) และอีกทั้งความยาวที่ดูยาวเกินไปทำให้ฉบันโรงที่มีความยาวแค่ 2 ชั่วโมง 30 นาที ดูผิดรูปผิดร่าง ขาดความกลมกล่อม ขาดความเข้มข้นและไร้ซึ่งอารมณ์ร่วมกับตัวละคร แต่ในฉบัน 3 ชั่วโมงกลับแก้ไขในส่วนนั้น ดูกลมกล่อม เป็นรูปเป็นร่างและอรรถรสในอารมณ์ร่วมของตัวละครก็ดูอร่อยและเข้มข้นมากขึ้น


เรื่องราวต่อจาก Man Of Steel ในเหตุการณ์ Black Zero ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนซึ่งผู้ได้รับผลกระทบจากส่วนหนึ่งในพันคือ บรู๊ซ เวย์น มหาเศรษฐีแห่งเมืองก็อดแธมที่มองว่าซุปเปอร์แมนคือภัยร้ายที่ไม่ควรไว้ใจและนั่นก็ยังเป็นเหตุการณ์ที่เปิดตัว บุรุษเหล็ก หรือ ซุปเปอร์แมน ให้คนทั่วโลกรู้จัก เริ่มตั้งแง่ สงสัยและหวาดกลัวในการเปลื่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติว่าเราไม่ได้โดดเดี่ยวในจักวาล

18 เดือนต่อมา โลอิส เลน ได้ไปทำข่าวที่แอฟริกา ในการสัมภาษณ์จอมโจรที่ก่อไม่สงบในแถบพื้นเมืองและเพื่อส่งข่าวให้รู้ว่ารัฐบาลอเมริกาจะทำตัวเป็นกลางต่อประเทศ ทุกอย่างดูราบลื่นจนกระทั่งสายสืบที่เป็นตากล้องได้ถูกเปิดเผยว่าเป็นซีไอเอทีได้ทำการสอดแนบผู้ก่อร้าย

เขาถูกฆ่าและภายในไม่กี่นาทีต่อมาสมาชิกผู้ก่อการร้ายก็ถูกสังหารโดยพวกเดียวกันเองเพื่อใส่ร้ายซุปเปอร์แมนจนต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น

และในขณะเดียวกัน แบทแมนแห่งเมืองก็อดแธมก็ได้เตรียมการรับมือกับซุปเปอร์แมนเพราะผลกระทบจากเหตุการณ์ Black Zero และเหตุการณ์ในแอฟริกา


ถ้าชอบเรื่องราวที่ฉายในโรง (ผลกระทบจากเหตุการณ์ก่อการร้าย,ความไม่ไว้วางใจ,วิธีสำรวจสภาวะจิตใจของตัวละครทั้งสองที่เชื่อมโยงกับบริบทสภาพแวดล้อมทางสังคมเพื่อดึงตัวละครให้กลับมาเป็นมนุษย์ปถุชนธรรมดาทั่วไปที่ยังยึดมั่นในคติของตัวเอง) คุณจะรักเวอร์ชั่น!! เพราะส่วนที่หนังได้เสริมรายละเอียดเข้าไป ทำให้หนังดูกล่อมกลม ไหลลื่นมากขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งประเด็นที่หนังต้องการจะสื่อก็คือการตั้งคำถามเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของซุปเปอร์แมนที่ไม่ต่างอะไรไปจากพระเจ้า ก็ถูกเติมเต็มให้มีที่มาที่ไปได้ชัดเจนกว่า เพราะอย่างน้อยพลเมืองแห่งเมโทรโปลิซและก็อดแธม (อันที่จริงทั้งโลก) ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นและแน่น่อนว่าการทำดีที่แม้จะทำเป็นพันๆครั้งก็ไม่สามารถจะทำให้ผู้คนอดตั้งคำถามถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำอันผิดพลาดหรือควรทำแต่ไม่ควรทำในสิ่งที่เกิดขึ้นได้

"แบทแมน ทำไมต้องฆ่าซุปเปอร์แมน" นานาจิตตัง ในเวอร์ชั่นก็ไม่ได้อธิบายรายละเอียดที่ชัดเจนเท่าไร แต่มีสองข้อหลักๆที่หนังโยนคำถามมาให้ตั้งคำถามถึงสิ่งที่เกิดขึ้น

1. เขาเบื่อโลก ผลจากการทำดีแล้วทำดีไม่ขึ้นทำให้ตัวเขากลายสภาพมาเป็นเครื่องจักรที่ไร้ความรู้สึก ตั้งตัวเป็นศาลเตี้ยและคอยจัดการกับเหล่าร้ายที่แสนเลือดเย็น ทำให้คติประจำใจที่เขาต้องการจะให้ผู้คนในก็อดแธมมองเห็นไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ซึ่งผลสุดท้ายตัวเขาก็ไม่ต่างอะไรไปจากอาชญากรและมองว่าซุปเปอร์แมนก็จะเหมือนเขาในไม่ช้า ถ้าไม่รีบฆ่าตอนนี้อาจจะมีผลเสียในระยะยาว


2.เขาต้องการเป็นตัวแทนของคนที่เกลียดซุปเปอร์แมนจากเหตุการณ์ Black Zero ร่วมถึงมุมมองที่ถูกทำให้มองคนละมุมจากฝืมือของเล็กซ์ ลูเธอร์

ทฤษฎีที่ว่าเล็กซ์ ลูเธอร์ ในหนังจะเป็นบุตรชายของเล็กซ์ ลูเธอร์ เป็นไปได้ถึง 93 % เพราะว่ามีตอนหนึ่งที่ตัวเขาบอกว่าพ่อเขาหากินกับหญิงชราซึ่งก็ตรงตามคอมมิคแทบ (เกือบ) ทุกประกาศ

"การมีตัวตนของซุปเปอร์แมน ส่งผลยังไงต่อโลก" ในอดีตโคเปอร์นิคัสพูดว่า โลกเป็นศูนย์กลางดวงอาทิตย์ซึ่งได้ผลิกโฉมโลกไปตลอดกาลและซุปเปอร์แมนจะเป็นแบบนั้นบ้างไม่ได้แหละ ในส่วนนี้ผมจึงแนะนำให้ท่านดู Man Of Steel มาก่อนดูเรื่องนี้เพื่อซึมซับกับคำสอนของโจนาธาน เคนต์ ว่าโลกนี้ยังไม่พร้อมสำหรับการมีตัวตนที่มีชีวิตจริงใจและการตีความซุปเปอร์แมนเวอร์ชั่นนี้ก็ไม่ต่างอะไรไปจากการขุดหลุมฝั่งศพซุปเปอร์แมนทั้งเป็น

"เล็กซ์ ลูเธอร์ อัจฉริยะไร้เดียงสาอันแสนเลวบริสุทธิ์" ผมชอบการตีความเล็กซ์ ลูเธอร์ เวอร์ชั่นนี้มาก เขาเป็นเด็กหนุ่มที่มองโลกเป็นเสมือนถังขยะที่ต้องคอยเก็บกวาด การกระทำที่ไม่จำเป็นต้องการเหตุผล แต่สามารถเกิดขึ้นได้เพราะเขารวย เขาอัจฉริยะ และที่สำคัญวิธีการตีความในหนังของเขาก็แสนเจ้าเหล่เจ้ากลและดูไปได้ที่ว่าตัวตนของเขาพยายามจะสื่อถึงความวิปริตในสังคม GEN Y

และแน่น่อนว่าวันเดอร์ วูแมน คือตัวละครที่สร้างสีสันต์ให้หนังดูมีเสน่ห์มากขึ้น

คริส โทริโอ่ รับหน้าที่เขียนบทร่วมกับ เดวิด เอส.โกเยอร์ ที่คนแรกเคยเขียนบทหนังทริลเลอร์สุดเข้มข้นอย่าง ARGO ที่ว่าด้วยการทำงานของซีไอเอในภารกิจช่วยคนออกจากเตหะร่านโดยการปลอมตัวเป็นทีมงานถ่ายหนังที่ในคราวนี้เขายังคงใส่มุมมองทางการเมืองของอเมริกันที่ดูร้ายกาจและหยอกล่อไม่ใช่เล่นซึ่งผมประทับใจในการเขียนบทของเขาในส่วนนี้โดยเฉพาะการเอาบริบททางประวัติศาสตร์มาสอดรับกับบริบททางสังคมในหนังเรื่องนี้ ส่วนเดวิด เอส.โกเยอร์ ก็เป็นคนที่สร้างสีสันต์ในการปูทางไปสู่จักวาล จัสติน ลีค ที่ดูน่าสนใจและมีสีสันต์ไม่ใช่น้อย

แช็ค ชไนเดอร์ ท็อปฟอร์มในผลงานชิ้นนี้ เขาพยายามจะเป็นคริสโตเฟอร์ โนแลน ที่บังเอิญทำสนุกกว่าโนแลน ในแง่ของการคุมสเกลหนังระดับยักษ์ชิ้นนี้ให้ดูมีความจริงจัง รุนแรงและผสมผสานความเป็นแฟนตาซีที่สอดรับความจริงจังของหนังได้อย่างดีงาม


โดยรวม "Batman v Superman : Dawn of Justice" ไม่ใช่หนังที่สมบูรณ์แบบ แต่เป็นหนังที่น่าสนใจ ปูทางไปสู่สิ่งต่างๆที่ดูน่าติดตามและการใส่ประเด็นหนักๆที่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครสามารถหาคำตอบหรือความเป็นกลางของทั้งสองฝ่ายได้สิ่งซึ่งในประเด็นนี้มันช่วยขยับขยายให้หนังดูไปได้ไกลกว่าคำว่า "หนังฮีโร่" หรือเรียกซอร์ฟๆในอีกแง่หนึ่งคือหนังพาตัวเองไปสู่โลกแห่งดิสโทเปีย (ในหนัง) ได้อย่างหม่นหม่องอีกเรื่องหนึ่ง